ในปัจจุบัน ทุกคนต่างพูดถึงระบบอัตโนมัติเหมือนที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ แต่สถานะที่แท้จริงของระบบเหล่านี้ในอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร ขณะที่ฝ่ายบริหารความปลอดภัยทางการจราจรบนทางด่วนแห่งชาติของอเมริกา (US National Highway Traffic Safety Administration, NHTSA) ได้จัดทำนิยามของความเป็นอัตโนมัติ 5 ระดับออกมาอย่างชัดเจนมาก [1] แต่นิยามคล้ายกันนี้ในด้านระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมยังไม่มีการกำหนดขึ้น อย่างไรก็ตาม เราก็ยังพอที่จะเปรียบเทียบงานทั้ง 2 อย่างนี้ได้ไม่ยากนัก
แต่เพื่อป้องกันความสับสน ผู้เขียนขอทำความเข้าใจก่อนว่า เครื่องจักรอัตโนมัติและระบบอัตโนมัติเป็นสองสิ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวง่ายๆคือ ระบบอัตโนมัติ สังเกตได้จากความสามารถที่จะทำงานเองโดยไม่ต้องมีมนุษย์ควบคุม ขณะที่ระบบเครื่องจักรอัตโนมัติยังต้องใช้มนุย์ในการควบคุมอยู่ [2],[3]
ถ้าจะกล่าวถึงระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม จุดมุ่งหมายที่ชัดเจนและสามารถทำได้คือเป้าหมายระดับที่ 3 ของ NHTSA ในแง่ของฝ่ายที่ออกแบบระบบ เมื่อแปลให้เข้ากับระบบควบคุมในอุตสาหกรรมแล้ว สามารถนิยามได้ว่า เป็นระบบที่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ในทุกแง่มุมด้วยตัวของมันเอง ดังนั้นระบบนี้บ่งชี้ถึงองค์ประกอบที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้ประโยชน์จากความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลของการตั้งต่าอุปกรณ์ที่เหมาะที่สุด ซึ่งรวมทั้งการผนวกอุปกรณ์ที่เชื่อมถึงกันอีกนับชิ้นไม่ถ้วน เงื่อนไขของภาคส่วนอุตสาหกรรมเอง และข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพอากาศ
–
กล่าวง่ายๆคือ ระบบอัตโนมัติสังเกตได้จากความสามารถที่จะทำงานเองโดยไม่ต้องมีมนุษย์ควบคุม ขณะที่ระบบเครื่องจักรอัตโนมัติยังต้องใช้คนคุม
ในฝ่ายปฏิบัติการ ระดับที่ 3 สำหรับอุตสาหกรรมสามารถอธิบายได้ดังนี้: มนุษย์ผู้ควบคุมต้องสามารถละวางจากการควบคุม เมื่อไรก็ตามที่ระบบอัตโนมัติแจ้งมนุษย์ผู้ควบคุมให้ทำดังกล่าว ในทั้งสองแขนง ทั้งฝ่ายที่ออกแบบระบบและฝ่ายปฏิบัติการ จุดมุ่งหมายนั้นเหมือนกันคือ: ขจัดความต้องการที่จะต้องใช้ความช่วยเหลือจากมนุษย์โดยผ่านการใช้งานการเรียนรู้ของเครื่องให้มากขึ้นเรื่อยๆ
ในทางเทคนิคแล้ว การจะทำอย่างนั้นได้ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในระดับชั้นควบคุมของระบบอัตโนมัติ เพราะระดับชั้นควบคุมต้องมีภาพของโรงงานแบบองค์รวมทั้งระบบ เมื่อคำนึงถึงปัจจัยต่างๆดังกล่าวมาแล้ว เป็นที่คาดการณ์ได้ว่าปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาเปลี่ยนแนวคิดด้านการควบคุมแบบปัจจุบัน จากการสั่งการด้วยการส่งสัญญาณเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลกระบวนการผลิต จากการควบคุมแบบระบบป้อนกลับ (feedback loop) เป็นการทำนายผล และจากการใช้คนค่อยๆปรับกระบวนการไปสู่การปรับแต่งระบบด้วยตัวเอง เมื่อมองไปข้างหน้า ฝ่ายที่ออกแบบระบบ ฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายควบคุม จะรวมกันเข้าในระบบอัตโนมัติแห่งโลกอนาคต กลายเป็นวงจรต่อเนื่องของกระบวนการที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะช่วยปรับแต่งโรงงานและกระบวนการผลิตให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆในแบบที่เราแทบจะคาดเดาไม่ได้เลยในปัจจุบัน
Writer:
Wilhelm Wiese
ABB Global Industries and Services
Bengaluru, India