7 สิ่งที่จำเป็นต้องรู้..ก่อนการเลือกซื้อหุ่นยนต์

หลายๆคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ก่อนการเลือกซื้อหุ่นยนต์แต่ละตัว จะต้องรู้ เข้าใจและคำนึงถึงอะไรบ้าง วันนี้ เอบีบีจะมาแนะนำ “7 สิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้..ก่อนการเลือกซื้อหุ่นยนต์” เพื่อให้คุณเข้าใจและมั่นใจว่าหุ่นยนต์ที่คุณเลือกนั้น ตรงตามความต้องการและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

1. Working Range

Working range หรือบางคนอาจเรียกว่า Reach ซึ่งก็คือ ระยะในการเข้าถึงของแขนหุ่นยนต์ โดยเป็นระยะที่เกิดขึ้นเมื่อหุ่นยนต์เอื้อมมือไปข้างหน้า ถอยหลัง ขึ้นและลง ระยะทางเหล่านี้พิจารณาจากความยาวของแขนหุ่นยนต์และการออกแบบแกน แต่ละแกนมีช่วงการเคลื่อนที่ของตัวเอง ซึ่งจะวัดจากระยะทางสูงสุดระหว่างจุดหมุนของแกนที่ 5 ของหุ่นยนต์ และจุดหมุนของแกนที่ 1 เราจึงจำเป็นจะต้องรู้ว่า ระยะในการยกหรือหยิบจับสิ่งของ ในงาน มีระยะเท่าใด

center

2. Payload

Payload หรือ น้ำหนักบรรทุก เป็นน้ำหนักที่หุ่นยนต์สามารถยกได้ ซึ่งจะรวมไปถึงน้ำหนักของ End of Arm Tooling (EOAT) และน้ำหนักของวัตถุที่ถูกยก หรือ หยิบจับ เพราะฉะนั้น การที่จะเลือกซื้อหุ่นยนต์ เราจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าน้ำหนักของวัตถุในงานที่เราต้องการ มีน้ำหนักเท่าไหร่ และต้องใช้หุ่นยนต์รุ่นหรือขนาดไหน ที่สามารถรับน้ำหนักของวัตถุนั้นได้ การดูนำหนักบรรทุกของหุ่นยนต์ ต้องดูจาก Load diagram ซึ่งจะมีรูปแบบการบรรทุกอยู่ 2 รูปแบบ ซึ่งจะเป็นการบรรทุกแบบ อิสระ และการบรรทุกแบบ Wrist down ซึ่งความสามารถในการบรรทุกจะมีความแตกต่างกัน

center

3. Speed

Speed หรือ ความเร็วในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ สิ่งนี้อาจถูกกำหนดในแง่ของความเร็วเชิงมุมหรือเชิงเส้นของแต่ละแกนในขณะที่แกนทั้งหมดกำลังเคลื่อนที่ ซึ่งความเร็วสูงสุดในการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ จะต่ำกว่า 1 เมตรต่อวินาที โดยมองที่เส้นทางการเคลื่อนที่เป็นสำคัญ โดยหุ่นยนต์แต่ละรุ่นและขนาด จะมีความสามารถในการทำความเร็วและแม่นยำที่แตกต่างกัน เราจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและรู้ว่างานที่ต้องการใช้หุ่นยนต์นี้ ต้องใช้ความเร็วในการทำงานเท่าไหร่ อีกเรื่องที่มีความสำคัญไม่แพ้ความเร็วคือความเร่ง ซึ่งมีความเป็นไปได้ยากที่หุ่นยนต์จะสามารถทำความเร็วให้ได้สูงสุดในระยะการเคลื่อนที่ที่มีระยะสั้นๆทำให้ความเร่งอาจจะมีความสำคัญมากกว่าความเร็วสูงสุดที่หุ่นยนต์สามารถทำได

center

4. Application

เนื่องจากหุ่นยนต์ได้รับการออกแบบมาสำหรับงานเฉพาะงานมากขึ้น วิธีการจำแนกประเภทของหุ่นยนต์จึงมีมากขึ้นเช่นกัน ตัวอย่างเช่น "หุ่นยนต์ประกอบ" คือหุ่นยนต์ที่ได้รับการออกแบบมาสำหรับงานประกอบ ซึ่งอาจไม่สามารถปรับใช้กับแอพพลิเคชันอื่นได้ หรือ หุ่นยนต์เชื่อม ที่ทำงานโดยการเชื่อมอุปกรณ์กับวัสดุอื่น ๆ เช่น การเชื่อมเหล็ก, สแตนเลส ฯลฯ แม้ว่าหุ่นยนต์ สามารถปรับให้เหมาะกับงานได้หลากหลาย แต่หุ่นยนต์บางตัวก็ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะ สำหรับการจัดการกับวัตถุที่มีน้ำหนักมากและถูกเรียกว่าเป็น "หุ่นยนต์สำหรับงานหนัก" (Heavy-duty robots)

center

5. Environment

หากคุณต้องการเริ่มต้นใช้หุ่นยนต์ในงานของคุณ หนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือ การระบุและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของพื้นที่งาน เหตุผลก็คือ ความสามารถของหุ่นยนต์ในการทำงานอย่างปลอดภัยนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของมันเป็นอย่างมาก การทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมของพื้นที่ทำงานของหุ่นยนต์จะช่วยให้คุณสามารถระบุอุปสรรคทั้งหมดที่มีภายในพื้นที่ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการนำทางหรือการทำงานของหุ่นยนต์ ตัวอย่างสำคัญของสิ่งที่ต้องมองหาภายในสภาพแวดล้อมของคุณ คือ พื้นที่ แสงสว่าง พื้นที่ที่มนุษย์ปฏิบัติงาน เครื่องกีดขวาง หรือสิ่งที่อาจเป็นอันตราย อุณหภูมิ ความชื้น เป็นต้น

center

6.Software

หากเราพูดถึง Software ในการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ ก็จะมี Software หลายประเภทที่ใช้รวมกับหุ่นยนต์ที่มีความแตกต่างกัน อย่างแรกคือ Software ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมซึ่งก็จะมีโครงสร้างของการเขียนโปรแกรมที่มีความแตกต่างกันซึ่งอาจจะต้องเลือกหุ่นยนต์ที่มีการเขียนโปรแกรมให้สสามารถมีความยืดหยุ่นให้มากที่สุด อย่างที่สองคือ Simulation Software ซึ่งในแต่ละยี่ห้อของหุ่นยนต์ก็จะมี Feature ที่มีความแตกต่างกันข่อนข้างมากเช่น ความสามารถในการจะลองการเคลื่อนที่เพื่อดูเรื่อง cycle time, ความสามารถในการบรรทุก การจำลองการทำงานของเครื่องจักรที่ทำงานร่วมกับหุ่นยนต์, ความสามารถในเรื่องของการทำ Online programming และ Offline programming ซึ่งมีส่วนสำคัญที่มาก อย่างที่ 3 คือ Software สำเร็จรูปที่ช่วยให้เราทำงานกับหุ่นยนต์ได้ง่ายขึ้นเช่น PowerPac software ซึ่งออกแบบมาสำหรับแต่ละ application โดยเฉพาะ เช่น Machining PowerPac, Palletizing PowerPac, Welding PowerPac etc, PickMaster สำหรับงานงานหยิบจับความเร็วสูง อย่างที่ 4 คือ CAM robot Software ที่ช่วยให้การทำงานหุ่นยนต์ สามารถทำงานได้เหมือน CNC

center

7. Service

ในการเลือกใช้หุ่นยนต์มีความจำเป็นอย่างมากในการคำนึงถึงเรื่องของการบริการหลังการขายของหุ่นยนต์ยี่ห้อนั้นๆ เพื่อที่จะสามารถมั่นใจได้ว่า หากเกิดปัญหาหรือการซ่อมบำรุง ต้องใช้บริการ Local service ของแต่ละหุ่นยนต์ ซึ่งโดยปกติหุ่นยนต์แต่ละรุ่นจะมีอะไหล่เฉพาะรุ่น ซึ่งอาจจะสามารถใช้อะไหล่อื่นแทนกันได้ การซ่อมบำรุงจึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างมากที่จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการดูแล

center

และนี่คือ 7 สิ่งหลักๆที่คุณจำเป็นต้องรู้ หากจะเลือกซื้อหุ่นยนต์มาใช้ในงานของคุณ อย่าลืมกลับไปตรวจเช็คและทำความเข้าใจพื้นที่งานของคุณ เพื่อความปลอดภัยและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดของหุ่นยนต์ของคุณ

Links

Contact us

Downloads

Share this article

Facebook LinkedIn X WhatsApp