แนวคิดใหม่เกี่ยวกับความสามารถในการผลิตและความยั่งยืนในโรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม

แนวคิดใหม่เกี่ยวกับความสามารถในการผลิตและความยั่งยืนในโรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม

ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ได้เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจอย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถจัดหาสินค้าให้ผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง

ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบันทำให้เกิดความท้าทายใหม่ๆ เนื่องจากผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะมีกำลังซื้อลดลง อาจทำให้เกิดแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตเพื่อคงราคาสินค้าเดิมไว้ ในช่วงเวลาที่มีการแข่งขันสูงขึ้น อาจเป็นเรื่องยากที่จะเน้นความสำคัญในประเด็นความยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกเป็นเรื่องที่ต้องทำควบคู่กัน

Chris Humphrey กรรมการบริหารของสภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียนซึ่งทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าอาหารระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนเรื่องการจัดหาอาหารที่ปลอดภัย ยั่งยืน และมีคุณค่าทางโภชนาการ เขาเล็งเห็นแนวโน้มที่ชัดเจนขึ้นในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมทั้งการทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินงาน การปรับฟื้นตัวของห่วงโซ่อุปทาน และความยั่งยืน

"จากวิกฤติที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่าระบบนิเวศทั้งระบบมีความเชื่อมโยงถึงกันและมีศักยภาพมหาศาลที่จะทำให้เกิดกระบวนการผลิตอาหารที่ปลอดภัย ยั่งยืน และมีคุณค่าทางโภชนาการ โดยในภูมิภาคอาเซียน การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและมูลค่าทางเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต กอปรกับความผันผวนของราคาตลาดและผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่เพิ่มขึ้นได้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทั้งห่วงโซ่อุปทานของทั้งภูมิภาคให้มีความยืดหยุ่นและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น การปรับปรุงอุตสาหกรรมนี้ให้ทันสมัยจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเกษตรต้นแบบและโครงสร้างพื้นฐาน หรือในด้านการผลิตอาหารรวมไปถึงระบบการขนส่งไปจนถึงมือผู้บริโภค การส่งเสริมอย่างจริงจังให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นก็สามารถเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มได้มากขึ้นและยังลดผลกระทบที่จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน"

การปรับใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมเพื่อเปลี่ยนจากสิ่งที่น่าสนใจมาสู่การลงมือทำ

ในโลกที่มีการพูดถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างกว้างขวาง ความท้าทายมักอยู่ที่วิธีดำเนินการให้เกิดผลตามเป้าหมาย การทำให้โรงงานอาหารและเครื่องดื่มมีความยั่งยืนและใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทุกภาคส่วนในองค์กรต้องมีความมุ่งมั่นในการร่วมมืออย่างชัดเจนที่จะมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายที่สูงขึ้นในการสร้างโลกที่ดีกว่าสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป การทำธุรกิจแบบเดิมจึงไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพของมอเตอร์ ปรับปรุงระบบการผลิตให้เป็นแบบอัตโนมัติ หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้วยระบบดิจิทัลเป็นโอกาสสำคัญที่จะช่วยในการประหยัดพลังงานได้เกือบจะทันทีเพียงชั่วคืน

พลังงานสุดสะอาดเกิดจากการประหยัดพลังงาน

เมื่อพูดถึงการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ขั้นตอนแรกคือการระบุแหล่งใช้พลังงานที่สำคัญมากที่สุด R Narayanan รองประธานอาวุโสของกลุ่ม Motion ในภูมิภาคเอเชีย และกรรมการผู้จัดการบริษัท ABB ประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า "พลังงานนั้นถูกนำไปใช้ในเกือบทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตเช่น กระบวนการแปรรูปอาหาร การทำความสะอาด การอบแห้ง การให้ความร้อน การฆ่าเชื้อ ระบบทำความเย็น และอื่นๆ"

"โดยปกติแล้วกลุ่มของมอเตอร์ไฟฟ้าคือแหล่งที่ใช้พลังงานส่วนใหญ่ของโรงงาน ดังนั้น จึงมีโอกาสอย่างมากที่จะลดการใช้ไฟฟ้าโดยการแทนที่มอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำด้วยมอเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเช่น มอเตอร์ซิงโครนัสรีลักแทนซ์ (SynRM) มาตรฐาน IE5”

การเพิ่มอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ (VSD) สามารถส่งผลให้ประหยัดพลังงานอย่างเห็นได้ชัด เครื่องมือคำนวณการประหยัดพลังงาน EnergySave ของ ABB ช่วยให้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มตรวจสอบได้ว่าการติดตั้งอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบจะสามารถประหยัดพลังงานและต้นทุนได้มากน้อยเพียงใด มอเตอร์ส่วนใหญ่ในโรงงานจะทำงานด้วยความเร็วสูงสุดตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งไม่มีความจำเป็นต้องใช้ที่ความเร็วนั้น VSD สามารถควบคุมการทำงานของมอเตอร์ได้มากขึ้นและสามารถปรับความเร็วรอบหรือแรงบิดได้ตามความต้องการในขณะใช้งานจริง ซึ่งทำให้มอเตอร์ดึงเฉพาะพลังงานที่จำเป็นมาเพื่อการทำงานที่จำเพาะต่างๆ กันไปได้ การเปลี่ยนมาใช้ VSD แทนวาล์วปีกผีเสื้อในการควบคุมปั๊มเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะประหยัดพลังงาน การเพิ่ม VSD เข้าไปในอุปกรณ์เครื่องจักรกล เช่น ปั๊ม พัดลม มอเตอร์ และคอมเพรสเซอร์ สามารถประหยัดพลังงานได้ราว 20-60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งช่วยให้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มลดต้นทุนด้านพลังงานได้

ในอีกตัวอย่างหนึ่ง บริษัทอาหารข้ามชาติในออสเตรเลียซึ่งผลิตซุป น้ำสต็อก และอาหารหลายชนิดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ประสบความสำเร็จในการลดต้นทุนด้านพลังงาน 14% และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 131 ตันต่อปีด้วยการปรับใช้มอเตอร์ซิงโครนัสรีลักแทนซ์ (SynRM) และอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ของ ABB อีกทั้งยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น ลดเสียงรบกวนได้ค่อนข้างมาก ลดอุณหภูมิในการทำงานของอุปกรณ์ ทำงานได้ราบรื่นขึ้น และลดการสั่นสะเทือน ซึ่งสิ่งเรียบง่ายเหล่านี้คือรากฐานไปสู่ความยั่งยืนของบริษัท

เหนือสิ่งอื่นใดคือ โซลูชันดิจิทัล เช่น เซนเซอร์อัจฉริยะ ABB Ability™ Smart Sensor สำหรับปั๊มและ/หรือมอเตอร์ช่วยให้มีข้อมูลเชิงลึกและเพิ่มโอกาสในการประหยัดพลังงานมากขึ้น ข้อมูลจากเซนเซอร์อัจฉริยะที่ผสมผสานกับข้อมูลจากเครื่องบันทึกซึ่งติดตั้งมากับ VSD สามารถรวบรวม จัดเก็บ และเข้าใช้งานเพิ่มเติมได้ผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ ความสามารถในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลนี้จึงช่วยเผยสิ่งที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงสมรรถนะรวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานได้

ลดการสิ้นเปลืองวัสดุและปรับปรุงประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานด้วยวิทยาการหุ่นยนต์
Anand Natarajan หัวหน้าฝ่ายธุรกิจวิทยาการหุ่นยนต์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกาของ ABB กล่าวว่า "ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาในภูมิภาคต่างๆ ผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่มจึงมองหาหนทางที่จะตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ด้วยการเพิ่มความคล่องตัวและเพิ่มความสามารถในการผลิต รวมถึงประหยัดพลังงานในโรงงานต่างๆ การปรับฟื้นตัวและความคล่องตัวในห่วงโซ่อุปทานไม่เคยมีความสำคัญมากเท่านี้มาก่อน เมื่อพูดถึงการตอบสนองความต้องการอาหารขั้นพื้นฐานแล้ว เทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำหน้าสามารถทำให้เกิดความมั่นคง ความปลอดภัย และความยั่งยืนทางอาหารได้มากขึ้น"

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเร็วๆ นี้ โรงงานผลิตแป้งที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในประเทศอินโดนีเซียได้เปลี่ยนสายการผลิตจากที่หยิบและจัดเรียงสินค้าบนพาเลทโดยใช้แรงงานคนมาติดตั้งระบบอัตโนมัติแทน โดยบริษัทได้ติดตั้งหุ่นยนต์ของ ABB และสามารถเพิ่มความเร็วในการผลิตขึ้น 25% โดยที่หุ่นยนต์แต่ละตัวทำงาน 3 อย่างพร้อมกันรวมถึงสามารถปรับให้เข้ากับสายการผลิตที่มีพื้นจำกัดได้ โซลูชันเหล่านี้ช่วยให้อุตสาหกรรมอาหารลดภาระงานที่ใช้เวลานาน ลดการสิ้นเปลืองทรัพยากร และยังลดความเสี่ยงที่จะเกิดการปนเปื้อนจากคนในการผลิต จึงเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนมากขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

รักษาความสะอาดและใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การทำความสะอาดด้วยแรงดันสูงใช้น้ำในปริมาณมหาศาล อีกทั้งกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การตัด การหั่นเป็นชิ้น การเฉือน และการแล่ ยังก่อให้เกิดน้ำเสียในปริมาณมากด้วย การลดการใช้น้ำในการผลิตและการทำความสะอาดอุปกรณ์ให้เหลือน้อยที่สุด จึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำหรับผู้ผลิตอาหาร

ทางออกหนึ่งคือการสูบน้ำอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ VSD ควบคุมปั๊มเพื่อใช้น้ำให้คุ้มค่าที่สุด การใช้ฟังก์ชันซอฟต์แวร์ที่สำคัญๆ เพื่อควบคุมแรงดันและอัตราการไหลสำหรับการทำความสะอาดท่อและฟังก์ชันเติมน้ำสำหรับอุปกรณ์ที่ทำความสะอาดแบบไม่ถอดชิ้นส่วน (CIP) สามารถลดเวลา การใช้น้ำ และวัสดุทำความสะอาดได้ อีกทั้งยังสามารถปรับใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันการเกิดโพรงไอ (Cavitation) ในการตรวจหาและป้องกันการเกิดโพรงไอ เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำไหลทั่วโรงงานได้ดีและยืดอายุการใช้งานของปั๊มได้อีกด้วย

สุดท้ายนี้ อีกวิธีหนึ่งคือการจัดการปัญหาที่ต้นตอโดยการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ทำความสะอาดง่ายและถูกสุขอนามัย มอเตอร์เหล็กกล้าไร้สนิมแบบฉีดล้างได้ซึ่งออกแบบมาให้มีพื้นผิวเรียบปราศจากร่องนั้นเป็นหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวที่ใช้เวลาและน้ำน้อยลง

การเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลเพื่อให้ดำเนินงานได้อย่างยั่งยืนและชาญฉลาดยิ่งขึ้น

การปรับเปลี่ยนการดำเนินงานของโรงงานให้เป็นระบบดิจิทัลโดยใช้ซอฟต์แวร์จัดการงานผลิตเป็นหนทางหนึ่งที่ก้าวหน้าขึ้นไปอีก เมื่อเชื่อมต่อกับมอเตอร์ อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบ และส่วนอื่นๆ ของโรงงานแล้ว ระบบจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงานและระดับการปล่อยคาร์บอนเพื่อให้เจ้าของธุรกิจได้รับข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อใช้ตัดสินใจในการดำเนินงานซึ่งเป็นผลดีต่อทั้งโรงงานและโลกของเราใบนี้

การให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงานและลดการใช้ทรัพยากรน้ำซึ่งรวมถึงความมุ่งมั่นที่จะริเริ่มจะปรับลดการใช้พลังงานสามารถสร้างเสริมความยั่งยืนรวมทั้งลดต้นทุนได้อีกด้วย

Links

Contact us

Downloads

Share this article

Facebook LinkedIn X WhatsApp