อันตรายจากไฟฟ้า VS การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกัน

อันตรายจากไฟฟ้า VS การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกัน

พลังงานไฟฟ้านับเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เราได้นำไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมากมาย แต่หากเราพิจารณาให้รอบด้านแล้วจะพบว่านอกจากคุณประโยชน์ที่ได้รับแล้ว ไฟฟ้าก็เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสามารถสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินเช่นกัน ถ้าเราประมาทหรือไม่รู้จักวิธีการควบคุมและป้องกันอย่างถูกวิธี

การควบคุมและป้องกันอันตรายจากการใช้ไฟฟ้าตามที่อยู่อาศัยทำได้โดยติดตั้งตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต (Consumer unit) โดยที่ภายในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตนั้นจะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานอย่างเหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วยเซอร์กิตเบรกเกอร์เมน อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด และเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อย

รูป 1 เซอร์กิตเบรกเกอร์
รูป 1 เซอร์กิตเบรกเกอร์
center

หน้าที่ของเซอร์กิตเบรกเกอร์

สำหรับหน้าที่ของเซอร์กิตเบรกเกอร์ (รูป 1) จะมีหน้าที่เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าและตัดวงจรโดยอัตโนมัติทันทีเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าเกินหรือเกิดการลัดวงจร (กระแสไฟฟ้าเกิน คือการใช้ไฟฟ้ามากเกินกว่าที่สายไฟจะทนได้) ซึ่งปกติแล้วเมื่อมีกระแสเกินเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อยที่ควบคุมวงจรดังกล่าวจะทำการตัดวงจรก่อนเซอร์กิตเบรกเกอร์เมน ยกเว้นในกรณีที่เกิดกระแสลัดวงจรขึ้นอย่างรุนแรง เซอร์กิตเบรกเกอร์เมนอาจจะตัดวงจรพร้อม หรือก่อนเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อยก็เป็นได้

ส่วนการเลือกขนาดที่เหมาะสมของเซอร์กิตเบรกเกอร์เมน ให้เลือกใช้สอดคล้องตามขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้า และเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อยตามขนาดของสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะใช้งานในแต่ละวงจรตามตารางต่อไปนี้ เพื่อให้การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

รูป 2 อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด
รูป 2 อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด
center

หน้าที่ของอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด

อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด (รูป 2) มีหน้าที่ตัดวงจรโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดไฟรั่วไฟดูดขึ้น โดยอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดที่ได้มาตรฐานสากลจะถูกกำหนดค่าให้ทำการตัดวงจรออกทันทีเมื่อมีไฟรั่วเกิดขึ้นตั้งแต่ 30 มิลลิแอมป์ขึ้นไป โดยอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วของเอบีบีมีความไวสูงสุดในการตัดวงจรภายในระยะเวลาเพียง 0.04 วินาที เมื่อมีไฟรั่วขนาด 5 เท่าของพิกัด (=150 mA) ตามมาตรฐาน IEC 61008 ซึ่งเพียงพอ และเหมาะสมต่อการป้องกันและดำเนินชีวิตของมนุษย์

รูป 3 ผลกระทบจากไฟดูด
รูป 3 ผลกระทบจากไฟดูด
center

หากพิจารณาจาก (รูป 3) โดยละเอียดจะพบว่าในบางกรณีที่เรารู้สึกว่าโดนไฟดูด แต่อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดยังไม่ทำงาน นั่นเป็นเพราะเกิดกระแสไฟรั่วไฟดูดในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อคน อย่างไรก็ตามหากมีกระแสไฟรั่วสูงเกินค่า 30 mA ซึ่งจะเริ่มเป็นอันตรายต่อคน อุปกรณ์ป้องกันฯ จะทำการตัดวงจรได้เร็วสูงสุดภายในระยะเวลา 0.04 วินาที ซึ่งจะอยู่ใน Zone 2 ที่มีความปลอดภัยต่อคนอย่างแน่นอน

อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดที่มีใช้กันทั่วไป สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทหลักๆ คือ ระบบเส้นแรงแม่เหล็ก และระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยระบบเส้นแรงแม่เหล็กนั้นจะให้ความน่าเชื่อถือและเสถียรภาพในระดับสูงที่สุด และยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าระบบอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย นอกจากนั้นอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วระบบเส้นแรงแม่เหล็กยังทำงานได้เต็มประสิทธิภาพในกรณีที่สายนิวตรอล และสายดินหลุด หรือขาดได้อีกด้วย ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยที่ผู้อาศัยไม่รู้ตัว

การเลือกขนาดของอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด นอกจากต้องพิจารณาเลือกพิกัดขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วที่ ไม่เกิน 30 mA ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่จะต้องทำการคำนวณ เพื่อเลือกใช้ นั่นก็คือกระแสใช้งาน โดยต้องเลือกขนาดกระแสใช้งานให้มากกว่ากระแสทั้งหมดที่ไหลผ่านตัวอุปกรณ์ฯ หรืออาจเลือกตามขนาดของเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ เช่น เมื่อเราต้องการติดตั้งใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดร่วมกับเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ขนาด 40 แอมแปร์ ก็จะต้องเลือกอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดที่มีขนาดกระแสใช้งานที่มากกว่าหรือเท่ากับ 40 แอมแปร์

center

นอกจากนี้ตามมาตรฐาน IEC 61008 และ IEC 61009 และข้อกำหนดของการไฟฟ้าฯ ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าพิกัดขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วที่ 30 mA เป็นค่าที่เหมาะสมที่สุดทั้งในแง่ของการใช้งานและการป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดสำหรับที่อยู่อาศัยทั่วไป รวมถึงได้ระบุไว้ว่าห้ามไม่ให้มีการต่อวงจรคร่อมผ่านหรือทำการบายพาสอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูดได้ ดังนั้นการต่อวงจรคร่อมผ่านหรือบายพาส จึงนับเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะนั่นอาจ เป็นสาเหตุทำให้เกิดอันตรายรุนแรงถึงแก่ชีวิต รวมทั้งถือเป็นการผิดทั้งมาตรฐาน IEC และมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย

Links

Contact us

Downloads

Share this article

Facebook LinkedIn X WhatsApp