ระบบสายดินที่ถูกต้อง ปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

ระบบสายดินที่ถูกต้อง ปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

เรามักได้รับข่าวสารความสูญเสียที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สิน และชีวิตอันเนื่องมาจากอันตรายจากการใช้ไฟฟ้าอยู่บ่อยครั้ง เราจึงควรตื่นตัวเพื่อที่จะหาทางป้องกันอันตรายจากการใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน เพราะความสูญเสียนั้นหากเกิดขึ้นกับทรัพย์สินท่านยังมีโอกาสที่จะหาใหม่มาทดแทนสิ่งที่เสียไปได้ แต่หากความสูญเสียเกิดขึ้นแก่ชีวิตของบุคคลภายในครอบครัว ก็คงไม่อาจหาสิ่งใดมาทดแทนได้

สำหรับอันตรายจากไฟฟ้าที่ส่งผลโดยตรงต่อร่างกายของคนเราก็คืออันตรายจากไฟรั่วหรือไฟดูดนั่นเอง การป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดขั้นพื้นฐาน ทำได้โดยการติดตั้งสายดินอย่างถูกวิธีและได้มาตรฐานตามที่การไฟฟ้าฯ ระบุไว้ โดยสายดินถือเป็นความจำเป็นอันดับแรกที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องมีสำหรับป้องกันไฟฟ้าดูด เพื่อให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงระบบสายดินได้อย่างสะดวกโดยไม่ผ่านร่างกายก็คือไฟไม่ดูด ซึ่งจากหน้าที่ของสายดินที่ได้กล่าวไว้จะเห็นได้ว่าถ้า บ้านพักอาศัยหรืออาคารนั้นๆ ไม่มีระบบสายดินติดตั้งอยู่ หรือมีระบบสายดินติดตั้งอยู่แต่ติดตั้งไม่ถูกวิธี หรือไม่ได้มาตรฐาน หากมีปัญหาไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้นก็จะทำให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านหรืออาคารดังกล่าวอาจจะได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตจากการเข้าไปสัมผัสโดนบริเวณที่มีไฟฟ้ารั่วอยู่

ระบบสายดินที่ได้มาตรฐาน

ระบบสายดินที่ติดตั้งอย่างถูกต้อง และได้มาตรฐานนั้นจะต้องมีค่าความต้านทานระหว่างหลักดินกับดินไม่เกิน 5 โอห์ม ยกเว้นพื้นที่ที่ยากในการปฏิบัติและการไฟฟ้าฯ เห็นชอบ ยอมให้ค่าความต้านทานของหลักดินกับดินต้องไม่เกิน 25 โอห์ม หากทำการวัดแล้วยังมีค่าเกินให้ปักหลักดินเพิ่มอีก 1 แท่ง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกอย่างสำหรับสายดินคือขนาดที่เหมาะสมของสายดิน โดยขนาดของสายดินที่ต่อจากหลักดินเข้ามายังตู้ไฟฟ้าภายในบ้านนั้นจะต้องคำนึงถึงขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าด้วยตามรายละเอียดใน -> ตาราง 1

ขนาดของสายต่อหลักดินคือตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บในคอลัมน์ “เดินสายติดผนัง” และ “เดินสายร้อยท่อ PVC ติดผนัง”
ขนาดของสายต่อหลักดินคือตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บในคอลัมน์ “เดินสายติดผนัง” และ “เดินสายร้อยท่อ PVC ติดผนัง”
center

สำหรับขนาดของสายดินที่จะทำการติดตั้งในวงจรย่อยนั้นต้องคำนึงถึงกระแสพิกัดของเครื่องป้องกันกระแสเกิน (เซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อย) ที่ใช้ควบคุมวงจรนั้นๆ ตามรายละเอียดใน -> ตาราง 2

หมายเหตุ * ขนาดต่ำสุดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าใช้สำหรับที่อยู่อาศัยหรืออาคารของผู้ใช้ไฟที่อยู่ห่างจากหม้อแปลงระบบ 
จำหน่ายระยะไม่เกิน 100 เมตร
หมายเหตุ * ขนาดต่ำสุดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าใช้สำหรับที่อยู่อาศัยหรืออาคารของผู้ใช้ไฟที่อยู่ห่างจากหม้อแปลงระบบ จำหน่ายระยะไม่เกิน 100 เมตร
center

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโดยละเอียดของระบบสายดิน สามารถหาได้จากหนังสือมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย หรือในเว็บไซต์ของการไฟฟ้าฯ แต่หากต้องการเพิ่มความมั่นใจในระบบความปลอดภัยให้มากขึ้นก็ควรติดตั้งเครื่องตัดวงจรกระแสเหลือ (RCD: Residual Current Device) -> รูป 1หรือที่รู้จักกันทั่วไปคือเครื่องตัดไฟรั่ว/ไฟดูด

รูป 1 Residual Current Device
รูป 1 Residual Current Device
center

โดยอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดของเอบีบี สามารถทำงานได้ทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีระบบสายดินซึ่งจะช่วยทำให้ผู้อาศัยมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยอีกทั้งยังช่วยสร้างความปลอดภัยจากอันตรายของไฟรั่วไฟดูดให้แก่ผู้อาศัยได้อย่างสูงสุด ถึงแม้ที่พักอาศัยนั้นไม่มีระบบสายดินหรือมีระบบสายดินอยู่แล้วแต่อาจจะไม่ได้มาตรฐาน หรือใช้งานมาเป็นเวลายาวนานจนอาจจะมีการหลุดหรือขาดของสายดินโดยที่ผู้อาศัยไม่ทราบ

สำหรับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟรั่วไฟดูดของเอบีบีใช้หลักการของเส้นแรงแม่เหล็กไฟฟ้า จะทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องมีไฟเลี้ยงอุปกรณ์ กล่าวคือแม้ในกรณีที่สายนิวตรอน (N) เกิดขาดหรือหลุดหลวม อุปกรณ์ฯ ก็ยังสามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติในเวลาที่มีไฟดูดไฟรั่วเกิดขึ้น

Links

Contact us

Downloads

Share this article

Facebook LinkedIn X WhatsApp