เซอร์กิตเบรกเกอร์ทำหน้าที่ป้องกันในระบบไฟฟ้า โดยจะทำการทริปหรือปลดวงจรเพื่อตัดกระแสไฟฟ้าในกรณีที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น โดยทั่วไปลักษณะโครงสร้างกลไกการทริปของเซอร์กิตเบรกเกอร์นั้นจะทริปจาก 2 ประเภทหลักๆคือ
- การทริปที่เกิดจากคำสั่งตัดวงจรจากหน่วยประมวลผล อาทิเช่น กรณีการเกิดกระแสลัดวงจร หรือกระแสโหลดเกินเป็นต้น
- การทริปจากคำสั่งตัดวงจรที่ส่งมาจากอุปกรณ์ตรวจสอบภายนอก อาทิเช่น เกิดแรงดันไฟฟ้าตก/แรงดันไฟฟ้าเกิน หรืออุณหภูมิหม้อแปลงสูง เป็นต้น
ทั้งนี้คุณรู้หรือไม่ว่า...เซอร์กิตเบรกเกอร์ของเอบีบี ในรุ่น Tmax XT มีหน้าสัมผัสแสดงสถานะทางไฟฟ้า (Electrical Auxiliary contact) ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมที่มีหลากหลายรุ่นย่อย มีคุณสมบัติที่สามารถบ่งบอกถึงประเภทของการทริปได้ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุของการทริปได้อย่างง่ายดาย และยังสามารถนำเอาสัญญาณทางไฟฟ้าที่เกิดจากการทริปประเภทต่างๆ ไปประยุกต์ควบคุมวงจรไฟฟ้าตามรูปแบบของการออกแบบที่แตกต่างกันได้อย่างสะดวกและตรงตามความต้องการใช้งานได้มากขึ้น
ประเภทของหน้าสัมผัสแสดงสถานะทางไฟฟ้ามีหลากหลายรุ่นดังนี้
- Q Auxiliary contact แสดงสถานะ ON และ OFF (รวมถึง Trip) ของเซอร์กิตเบรกเกอร์
- SY Auxiliary contact แสดงสถานะ Trip ของเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่เกิดขึ้นทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการทริปจากหน่วยประมวลผล การทริปจากคำสั่งภายนอก หรือการทริปจากการกดปุ่มทดสอบการทริปเช่นกัน (Trip Test button)
- SA/S51 Auxiliary contact แสดงสถานะ Trip ของเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่เกิดจากคำสั่งทริปจากหน่วยประมวลผลเท่านั้น อาทิเช่น ทริปจากฟังก์ชั่น L กระแสโหลดเกิน, I กระแสลัดวงจร, S กระแสลัดวงจรแบบหน่วงเวลา หรือ G กระแสรั่วลงดินเป็นต้น
- S52 Auxiliary contact แสดงสถานะ Trip ของเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่เกิดจากคำสั่งภายนอก อาทิเช่น การทริปจากคำสั่งสัญญาณที่มาจาก Phase Monitoring Relay หรือ Transformer Temperature monitoring relay เป็นต้น